วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การควบคุมต้นทุน

การควบคุมต้นทุน (Cost)
ความสำเร็จทางการบริหารหลายกรณีขึ้นอยู่กับงานเสร็จสมบูรณ์เป็นที่พอใจภายในต้นทุนที่แน่นอน อาจกล่าวว่าต้นทุนเป็นสื่อการควบคุม มีความสำคัญที่สุด เพราะการควบคุมแบบอื่นที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นเวลา คุณภาพ หรือปริมาณ จุดสุดท้ายของการวิเคราะห์มักถูกอธิบายอยู่ในรูปของต้นทุน จนเรียกได้ว่าการควบคุมประเภท ก็คือ การควบคุมต้นทุนนั่นเอง การตัดสินใจใด ๆ มีอิทธิพลจากการพิจารณาข้อมูลด้านต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงระบบใหม่ การซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์สำนักงานใหม่ การจัดหาบริการใหม่ หรือการปรับปรุงแบบฟอร์มใหม่ในสำนักงาน ต้องใช้ข้อมูลต้นทุนช่วยประกอบการตัดสินใจเสมอ

ทำไมเราต้องลดและควบคุมต้นทุนการผลิต ?
SMEs ในยุคปัจจุบัน ต้องเผชิญกับข้อจำกัดหลายอย่างอันเป็นอุปสรรคปัญหาต่อการดำเนินธุรกิจ และเป็นเหตุให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จากหลายๆ ปัจจัย คือ
ต้นทุนค่าแรงงานมีแนวโน้มสูงขึ้น
ต้นทุนค่าวัตถุดิบแพงขึ้นจากการลดค่าเงินบาทกรณีที่ต้องนำวัตถุดิบจากต่างประเทศ
ต้นทุนค่าโสหุ้ยโรงงานสูงขึ้น เช่น ค่าน้ำมัน ค่าน้ำ ค่าไฟที่จะปรับตัวขึ้นทุกวัน
คู่แข่งขันมีมากขึ้นและทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น
ต้องการลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสินค้าที่ผลิต
ต้องการผลกำไรมากขึ้น

ปัจจัยในการลดและควบคุมต้นทุนการผลิต
ในการผลิตสินค้า ต้นทุนการผลิตจะสูงหรือต่ำนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ หลายประการด้วยกัน เช่น
1.ผู้บริหารต้องมีนโยบาย และโครงการเพื่อลดต้นทุนการผลิตอย่างจริงจังและชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานระดับสากล เช่น ไอเอสโอ. การสนับสนุนศักยภาพของบุคลากร ฯลฯ หรือทุกเรื่องเพื่อการลดต้น ซึ่งต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
2.สร้างจิตสำนึกพนักงาน ให้มีจิตสำนึกที่ดีต่อโครงการลดต้นทุนการผลิต จึงจะได้รับความร่วมมือและประสบความสำเร็จได้
3.มีมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการบริหารจัดการ เนื่องจากหลายโรงงานที่ประสบปัญหาเพราะ โรงงานขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการอย่างจริงจัง

ขั้นตอน
วงจรการควบคุม PDCA (Deming Cycle) ต้องมีการดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง
P (Plan) คือ การวางแผน
D (Do) คือ การปฏิบัติ วัดผล
C (Check) คือ การตรวจสอบ
A (Action) คือ การปรับปรุงแก้ไขและตั้งมาตรฐานในการทำงาน
วงจรการควบคุม PDCA (Deming Cycle) ต้องมีการดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อเสร็จสิ้นแล้วต้องเริ่มทำใหม่ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่หยุดนิ่ง


ทั้งนี้ ในการลดต้นทุนการผลิต ผู้ประกอบการมีความจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างในการประกอบธุรกิจต่างๆ ทุกโรงงานต้องการลดต้นทุน ทุกโรงงานต้องการผลิตแล้วขายได้ดี แต่ในระบบการค้าเสรีไม่ผูกขาด ผู้ลงทุนอาจจะมีมากขึ้น คู่แข่งเพิ่มขึ้น ซึ่งเขาสามารถสร้างความแตกต่างในการผลิตสินค้า สินค้าขายดี มีผลกำไรมากขึ้น โรงงานก็อยู่ได้
ถึงตอนนี้ เรายังไม่สายที่จะเริ่มต้น หากมีปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตสูงจะแก้อย่างไร เพื่อจะลดต้นทุนให้ต่ำลง แต่คุณภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ